แกลบ
ถือว่าเป็นเชื้อเพลิงที่ดีที่สุด ในบรรดาชีวมวลทั้งหมด เพราะมีความชื้นต่ำ
ไม่ต้องผ่านเครื่องย่อยก่อนนำไปเผาไหม้ ประกอบกับมีสัดส่วนขี้เถ้า
มากกว่าชีวมวลชนิดอื่น สามารถนำไปทดแทนดินเพื่อปลูกพันธุ์ไม้ต่างๆ ได้ดี
ส่งขายต่างประเทศได้อีกด้วย ทำให้ผลตอบแทนของโครงการดีขึ้น
การนำแกลบมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า จะมีปัญหาอยู่ที่การรวบรวมแกลบจากโรงสี
ที่มีแหล่งอยู่กระจัดกระจาย ทั่วไปหลายๆ แห่งมารวมกัน
เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้สูงขึ้น และเงินลงทุนต่อ เมกะวัตต์จะลดลง
เมื่อ
นำข้าวเปลือก 1 ตัน ผ่านกระบวนการแปรรูปต่างๆ แล้ว จะใช้พลังงานทั้งสิ้น
30-60 kWh เพื่อให้ได้ข้าวประมาณ 650-700 กิโลกรัม
และจะมีวัสดุที่เหลือจากกระบวนการผลิตหรือ แกลบ ประมาณ 220 กิโลกรัม
หรือเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าได้ 90-125 kWh
การ
พัฒนาในเรื่องการใช้พลังงานทดแทนจากแกลบเริ่มศึกษาอย่างจริงจังต่อเนื่องมา
ตั้งแต่ปี 2551 โดยขณะนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้นแบบใช้พลังงานร่วมระหว่างแกลบกับดีเซล
ไม่ก่อมลภาวะในอากาศ
พร้อมถ่ายทอดให้ชุมชนหรือโรงสีที่สนใจลงทุนผลิตไฟฟ้าใช้เอง
โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานร่วมแกลบกับดีเซลเป็นผลงานการพัฒนาของศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)
ติดตั้งผลิตไฟฟ้าให้แก่โรงสีชุมชนสหกรณ์การเกษตรลำลูกกาเรียบร้อยแล้วเมื่อ
2 ปีที่แล้ว ช่วยประหยัดน้ำมันดีเซลถึง 70%
แถมยังเหมาะที่จะพัฒนาระบบให้ใช้เชื้อเพลิงจากแกลบเพียงอย่างเดียวเพื่อลด
การพึ่งพาน้ำมันดีเซลจากต่างประเทศ
เป้าหมายใน
การพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานร่วม
เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากราคาเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง ซึ่งโรงงานไฟฟ้าจากพลังงานแกลบต้นแบบใช้ต้นทุนก่อสร้างประมาณ 3.9
ล้านบาท ใช้เวลา 7 ปีคืนทุน เหมาะสำหรับชุมชนขนาด 200
ครัวเรือนในพื้นที่ห่างไกล มีวัตถุดิบแกลบและฟางข้าวอยู่มาก
โดยถูกกว่าเทคโนโลยีของญี่ปุ่นและยุโรปที่มีราคาอยู่ที่ 10-12 ล้านบาท
ระบบ
ผลิตพลังงานจากชีวมวลระดับชุมชนเป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย
จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยทีมวิจัย มก. ร่วมกับบริษัท
เกรท อะโกร จำกัด
พัฒนาระบบและพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ชุมชนและผู้ประกอบการที่สนใจ
โดยการใช้แกลบเป็นพลังงานทดแทนนั้นมีข้อดีคือ
• มีปริมาณกำมะถันต่ำ
• ราคาถูกกว่าพลังงานเชิงพาณิชย์อื่น ต่อหน่วยความร้อนที่เท่ากัน
• มีแหล่งผลิตอยู่ในประเทศ
• พลังงานจากชีวมวลจะไม่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก และแทบจะไม่ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศหรืออากาศเป็นพิษเลยในกรณีมีการปลูกทดแทน