เผย
หากรัฐส่งเสริมต้นทุนผลิตสู้ก๊าซธรรมชาติได้ และยังกระจายรายได้สู่เกษตรกร
พร้อมเดินหน้าโครงการผลิตก๊าซจากฟาร์มไก่ คาดจะก๊าซได้เทียบเท่าLPG 44.6
ล้าน กก./ปี หรือเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า 136 ล้านหน่วย/ปี
นาย ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ (สวพ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กล่าวระหว่างการสัมมนา “ก๊าซชีวภาพสู่คำตอบและทางออกกู้วิกฤตพลังงานไทย”
ว่า จากการประเมินศักยภาพการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตทั้งหมดของไทย
คาดว่าจะมีใช้ได้อีกเพียง 10 ปี
หลังจากนั้นจะต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน
และนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจี เข้ามาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ซึ่งมีราคาแพงกว่าก๊าซธรรมชาติในปัจจุบันมาก
อย่าง
ไรก็ตาม จากการศึกษาของสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์
พบว่าประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตพลังงานจากก๊าซชีวภาพสูงมาก
แต่รัฐบาลยังไม่ได้ให้การสนับสนุนมากเท่าที่ควร
โดยในแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (ปี2555-2564)
ที่ได้ตั้งเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพเพียง 600 เมกะ วัตต์
ทั้งที่ศักยภาพที่แท้จริงจะผลิตไฟฟ้าสูงกว่าเป้าหมายมาก
แต่กลับให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และลมจนเกินไป
ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์นี้ และลม จะต้องใช้เทคโนโลยีจากต่างชาติ
มีราคาแพง และรายได้ก็ตกไปสู่นายทุนเพียงบางกลุ่ม
แต่การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพจะเป็นการกระจายรายได้ไปสู่เกษตรกรวงกว้าง
และสร้างความมั่งคงทางพลังงานให้กับประเทศ เนื่องจากก๊าซธรรมชาติจะหมดไปจาก
โดย
ศักยภาพพลังงานก๊าซชีวภาพของไทย สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 600
เมกะวัตต์อย่างสบาย
โดยในปัจจุบันมีการผลิตสามารถผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากฟาร์มสุกร
และโรงงานต่างๆ 138 เมกะวัตต์
และถ้ารวมกับโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มไก่ที่คาดว่าจะผลิตได้กว่า 400
เมกะ วัตต์ ก็จะถึงเป้าหมายทันที
ซึ่งถ้าหากรวมการผลิตก๊าซฯที่ได้จากหญ้าเลี้ยงช้าง และพืชพลังงานต่างๆแล้ว
ก็จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้อีกมาก
เห็นได้จากประเทศเยอรมันที่มีศักยภาพการปลูกพืชต่ำกว่าไทย
แต่มีโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพมากกว่า 2 พัน เมกะวัตต์
ซึ่งหากประเทศไทยต้องการที่จะตั้งเป้าให้ได้เท่ากับเยอรมัน
รัฐบาลจะต้องให้การส่งเสริมในเรื่องของแอดเดอร์เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ให้
แค่ 30 สตางค์ต่อหน่วย รวมทั้งจะต้องมีมาตรการอื่นๆเข้ามาช่วยส่งเสริม
ด้าน นายพฤกษ์ อักกะรังสี รองผู้อำนวยการ สวพ.
กล่าวว่า การพัฒนาการผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าเลี้ยงช้างนี้
ในปัจจุบันยังมีต้นทุนที่สูง
เพราะหญ้าเลี้ยงช้างที่เป็นวัตถุดิบหลักมีราคาสูงถึง 1 บาทต่อกิโลกรัม
ทำให้ต้นทุนก๊าซไบโอมีเทนอัด หรือ ซีบีจี
ที่สามารถนำมาใช้ก๊าซเอ็นจีวีในรถยนต์ได้ สูงกว่า 30 บาท ต่อกิโลกรัม
ไม่สามารถแข่งขันกับเอ็นจีวีได้
เนื่องจากยังมีเกษตรกรปลุกหญ้าเลี้ยงช้างอยู่น้อย
และต้องสู้ราคากับผู้เลี้ยงปศุสัตว์ที่ให้ราคาสูงกว่า
อย่าง
ไรก็ตาม จากการวิจับของสถาบันฯ
พบว่าต้นทุนราคาหญ้าเลี้ยงช้างที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 30 สตางค์ต่อกิโลกรัม
จะทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงกว่า 2.5 ต่อไร่ มากกว่าการปลูกข้าวที่ได้เพียง
1.5 หมื่นบาทต่อไร่ ซึ่งจะทำให้ราคาก๊าซซีบีจีอยู่ที่ 16-20 บาทต่อกิโลกรัม
ใกล้เคียงกับก๊าซเอ็นจีวีที่ไม่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐ
และต่ำกว่าแอลเอ็นจีที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคากว่า 20 บาทต่อกิโลกรัม
แต่ถ้าจะนำไปผลิตไฟฟ้าต้นทุนจะลดลงมาก เพราะไม่ต้องผ่านกระบวนการอัด
โดยจะทำให้ค่าไฟฟ้ามีราคาประมาณ 3-3.70 บาทต่อหน่วย
ใกล้เคียงกับค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน ซึ่งจะใช้พื้นที่ปลูกหญ้า 300 ไร่ต่อ 1
เมกะ วัตต์ เหมาะกับการสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนในพื้นที่ที่ห่างไกล
และพื้นที่ที่มีการต่อต้านโรงไฟฟ้า ทำให้ลดการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
และมีเสถียนภาพการผลิตไฟฟ้ามากกว่าการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และลม
ที่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ รวมทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ไปสู่เกษตรกร
ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ
สำหรับ
การส่งเสริมก๊าซชีวภาพก๊าซชีวภาพของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และ
สวพ. กำลังดำเนินโครงการต่อเนื่องในระยะที่ 4 (2551 – 2555)
โดยได้ดำเนินการจัดการของเสียและผลิตพลังงาน
ครอบคลุมในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ครบวงจร ได้แก่
โครงการส่งเสริมก๊าซชีวภาพ ในโรงฆ่าสุกรหรือวัว ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดเล็ก
โรงชำแหละแปรรูปไก่ และฟาร์มเลี้ยงไก่ระยะที่ 1
ซึ่งคาดว่าหากดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวแล้วเสร็จ
จะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ไม่น้อยกว่าปีละ 97 ล้าน ลบ.ม. เทียบเท่าก๊าซ LPG
44.6 ล้าน กก./ปี หรือเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า 136 ล้านหน่วย/ปี
รวมระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2538 - 2557 คาดว่า
จะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ประมาณ 185 ลบ.ม./ปี เทียบเท่าก๊าซ LPG 1,543
ล้านบาท/ปี ทดแทนพลังงานไฟฟ้าคิดเป็นเงินประมาณ 880 ล้านบาท/ปี
นอก
จากนั้น สวพ.
ยังได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพืชพลังงานเพื่อนำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ พบว่า
หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ที่อายุเก็บเกี่ยว 45 วัน อัตราการ
ผลิตก๊าซมีเทนสูงกว่าหญ้าชนิดอื่นๆ
เหมาะสมต่อการนำมาผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นพลังงานทดแทนมากกว่าหญ้าชนิดอื่นๆ
และในอนาคต สวพ. จะได้ทำการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง
เพื่อพัฒนาพลังงานก๊าซชีวภาพไปสู่พลังงานทดแทนในรูปแบบอื่นๆ ต่อไป
เพื่อให้ทันต่อความต้องการการใช้พลังงานในรูปแบบใหม่ๆ
และเกิดประโยชน์สูงสุด