หลังจากที่ได้แนะนำกันไปแล้วว่าสินเชื่อพลังงานคืออะไรและมีธนาคารไหนปล่อยสินเชื่อพลังงานกันบ้าง ในตอนนี้เราจะมาว่าด้วยเรื่อง “กู้อย่างไรให้ผ่านฉลุย”
ว่านอกจากการเตรียมหลักฐานเอกสารตามเงื่อนไขข้อกำหนดของธนาคารแล้ว
เราต้องเตรียมตัวในเรื่องใดอีกบ้าง
ซึ่งเราได้ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงมาให้คำตอบในเรื่องนี้กัน
ในครั้งนี้เราได้รับเกียรติจาก คุณสุภกิจ บุญเลี้ยง ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้บริหารฝ่าย ฝ่ายกลยุทธ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารกรุงไทย ในการพูดคุยบอกเล่าเคล็ดลับดีๆ ในการกู้สินเชื่อพลังงานให้แก่ผู้ที่กำลังศึกษาข้อมูลหรือกำลังเตรียมตัวอยู่
อยากกู้ เริ่มต้นยังไง
สิน
เชื่อที่กู้ไปไม่ว่าจะเป็นโครงการที่เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน เช่น
การเปลี่ยนหลอดไฟในอาคาร ใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน
หรือกู้ไปลงทุนเพื่อทำในโครงการอนุรักษ์พลังงาน
ก็คือใช้พลังงานทางเลือกอื่น ยกตัวอย่างเช่น
การทำโรงงานผลิตแอลกอฮอลหรือเอทานอล
การทำโซล่าฟาร์มที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานทาง
เลือก
ลูกค้า
มีหน้าที่เดียวคือ
การทำให้ธนาคารรู้จักธุรกิจของตัวเองก่อนว่าตัวเองจะทำอะไร ให้มีความชัดเจน
เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟในอาคารสำนักงานทั้งหมด ลงทุนเป็นมูลค่า....ล้านบาท
หรือในโครงการอนุรักษ์พลังงาน
ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ก็คือการทำโซล่าฟาร์ม
เหล่านี้ต้องบอกให้ชัดเจน
ผู้
ประกอบการต้องบอกให้ธนาคารรู้ก่อนว่าตัวเองจะทำอะไร มีการแยกแยะให้ชัด
แล้วสื่อสิ่งที่ตัวเองทำให้ธนาคารรู้ สื่อตัวแรกก็คือ
มูลค่าการลงทุนทั้งหมดเท่าไหร่
และการลงทุนนั้นจะต้องมีเงินของตัวเองบางส่วน เงินกู้บางส่วน
ถ้าจะลงทุนแล้วใช้เงินกู้ทั้งหมด 100% อย่างนี้ไม่ได้
ส่วนเงินของตัวเองจะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับตัวลูกค้าเอง
ถ้ากู้มากสัดส่วนหนี้สินต่อทุนก็สูง ภาระดอกเบี้ยจ่ายก็สูง
และต้องดูต่อไปว่าธุรกิจของเรานั้นสร้างได้มากหรือน้อย
ถ้าสร้างรายได้มากก็สามารถกู้ได้เยอะเพราะรับดอกเบี้ยได้เยอะ
แต่ถ้าธุรกิจของเราอยู่ในหมวดที่ได้กำไรน้อย การกู้ก็จะมีข้อจำกัด
เพราะกิจการไม่สามารถรับภาระดอกเบี้ยได้จำนวนมาก
สรุป
ก็คือ ผู้ประกอบการจะต้องรู้ว่าตัวเองทำอะไร
รู้แล้วสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นรู้ได้ด้วยว่าตัวเองทำอะไรและลงทุนเท่าไหร่
การจะกู้มากกู้น้อยอยู่ที่ความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ
ผู้ประกอบการมักจะกังวลการเรื่องการหาหลักประกัน
แต่หลักประกันนั้นธนาคารจะพูดถึงทีหลัง ธนาคารจะพูดถึงกิจการที่ทำก่อน
งบประมาณลงทุนก่อน ธนาคารจึงจะดูปัจจัยอื่นประกอบ
ธนาคารอยากรู้อะไรจากผู้กู้บ้างบ้าง?
ปัจจัยที่ธนาคารจะดูนั้นมี 6C’s ก็คือ
1.Character
ของผู้กู้ ถ้าผู้กู้มีคาแรกเตอร์ที่ดี แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกับธนาคาร
ธนาคารนั้นจะคิดเหมือนว่าตัวเองคือเถ้าแก่ว่าถ้าให้เงินไปแล้วลูกค้าจะคืน
เงินหรือเปล่า ดูถึงความสามารถและความเต็มใจในการชำระหนี้
2.Capacity
เป็นเรื่องของความสามารถในการหารายได้ ที่ว่าสร้างรายได้มากก็กู้ได้มาก
สร้างรายได้น้อยก็กู้ได้น้อย กิจการแต่ละกิจการมีความสารถที่แตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจนั้นๆ มีการแข่งขันมากน้อย
สามารถตั้งราคาได้มากหรือน้อย อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อมีมากหรือน้อย
3.Capital ก็คือเงินทุน ที่บอกว่าถ้าความสามารถในการทำกำไรสูง capital ก็อาจจะใช้น้อยกว่าโครงการที่มีความสามารถในการทำกำไรต่ำ
4.Collateral
ก็คือหลักประกัน ธนาคารก็จะดูเป็นปัจจัยตามมาว่ามีหลักประกันไหม
มากู้ทำโครงการเกี่ยวกับอนุรักษ์พลังงานก็ต้องดูว่าหลักประกันที่ธนาคารจะดู
คืออะไร ก็คือตัวโครงการหลัก เขาเรียกว่า core assets
กู้กับธนาคารก็ต้องเอา core assets ตัวนี้เป็นหลักประกันให้ธนาคารด้วย
ที่ธนาคารพูดถึงหลักประกันก็เพราะหลักประกันนั้นสามารถนำมาหักสำรองหนี้ได้
เพราะสินเชื่อที่ปล่อยไปทุกบาททุกสตางค์
หนี้ที่ชำระปกติหรือลูกหนี้ปกติเนี่ยธนาคารต้องสำรอง 1%
และถ้าสินเชื่อนั้นค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไป ธนาคารต้องสำรอง 100%
แต่การมีหลักประกัน ธนาคารสามารถนำหลักประกันมาลดเงินสำรองหนี้ได้
ถ้ารายไหนมีหลักประกันค่าใช้จ่ายธนาคารก็ต่ำเพราะธนาคารจะสำรองน้อยหรือแทบ
ไม่ต้องสำรองเงินเลย
5.Conditions
ความสามารถในการแข่งขัน
ความสามารถในการจัดหาทุนในกรณีที่ต้องมีการเพิ่มทุน
ในกรณีที่งานไม่เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ ลูกค้าต้องมีเงินทุนมารองรับ
6.Control การควบคุมบริหารงานของกิจการ
ถ้า
ผู้กู้เตรียม 6C’s นี้ได้ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ธนาคารต้องการจะรู้
สิ่งเหล่านี้จะลงไปสู่ภาคปฏิบัติก็คือ business plan
แผนธุรกิจก้คือทำอย่างไรให้ธนาคารรู้ถึง 6 ตัวนี้
และนี่คือสิ่งที่จะทำให้เรามาคุยกับธนาคารได้เข้าใจมากขึ้น
พื้นที่
ในตอนนี้หมดซะแล้ว
ตอนหน้าเรามาติดตามกันต่อว่าคำแนะนำจากธนาคารสำหรับผู้กู้สินเชื่อพลังงานมี
อะไรอีกบ้าง รับรองว่านำไปใช้จริงได้แน่นอน
รวมถึงยังมีอีกหนึ่งธนาคารที่จะมาให้คำแนะนำเพิ่มเติมด้วย