ผู้มีสิทธิยื่นข้อเสนอ
ผู้มีสิทธิยื่นข้อเสนอ จะต้องเป็นผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม และ/หรือ บริษัทจัดการพลังงาน (Energy Service Company: ESCO) ที่
เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพ
และระบบการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในรูปพลังงานทดแทน โดยโรงงานอุตสาหกรรม
1 แห่ง มีสิทธิยื่นข้อเสนอได้จำนวน 1 ประเภทข้อเสนอ
ทั้ง
นี้หากผู้ยื่นข้อเสนอใดเคยได้รับการสนับสนุนค่าก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพ
จากกองทุนฯ
และต้องการขอรับการสนับสนุนการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพในส่วนขยายกำลัง
การผลิต เนื่องจากโรงงานมีปริมาณของเสีย/น้ำเสีย
เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมจนกระทั่งระบบก๊าซชีวภาพ (เดิม)
ไม่สามารถรองรับได้และมีความประสงค์จะก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพ (ใหม่)
โดยข้อเสนอในลักษณะดังกล่าวจะต้องแสดงข้อมูลและเหตุผลที่ชัดเจนว่าส่วนที่ขอ
รับการสนับสนุนนี้เป็นการขอรับการสนับสนุนในส่วนที่โรงงานมีการขยายกำลังการ
ผลิตจริง พร้อมทั้งแสดงหลักฐานการเพิ่มกำลังการผลิต
ปริมาณน้ำเสีย/ของเสียที่เพิ่มขึ้นประกอบการพิจารณา
กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายแบ่งเป็น 6 กลุ่มหลัก ดังนี้
1) โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวเจ้า ผลิตภัณฑ์เส้นหมี่ หรือแป้งชนิดอื่น ๆ
2) โรงงานสกัดน้ำมันพืชหรือผลิตน้ำมันพืชบริสุทธิ์ เช่น น้ำมันปาล์ม เป็นต้น
3) โรงงานเอทานอล
4) โรงงานน้ำยางข้น
5) โรงงานแปรรูปอาหาร
6) โรงงานอื่นๆ ที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ตาม 1)-5)
ประเภทข้อเสนอที่สามารถขอรับการสนับสนุน
ข้อเสนอที่สามารถยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ จะต้องเข้าข่ายดำเนินการตามลักษณะหนึ่งลักษณะใด ดังต่อไปนี้
ลักษณะที่ 1 โรงงานหรือ ESCO ที่ต้องการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพใหม่และหรือปรับปรุง ระบบผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อนำน้ำเสียหรือของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตมาจัดการด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพและใช้เป็นพลังงานทดแทน
ทั้งนี้ผู้ยื่นข้อเสนอที่ยังไม่มีระบบผลิตก๊าซชีวภาพและต้องการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพใหม่
จะต้องยังไม่ได้เริ่มต้นงานฐานรากของระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ณ
วันที่ยื่นข้อเสนอ
นอกจากนี้ในลักษณะประเภทข้อเสนอดังกล่าวให้รวมถึงผู้ยื่นข้อเสนอที่ต้องการปรับ
ปรุงระบบก๊าซชีวภาพที่ไม่สามารถใช้งานได้และหยุดการใช้งานระบบดังกล่าวมา
แล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน
โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องแสดงเอกสารหลักฐานให้เชื่อได้ว่ามีการหยุดการใช้งาน
ระบบก๊าซชีวภาพดังกล่าวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน
กรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อสร้างโรงงานใหม่จะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4) แล้ว และกรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นโรงงานที่ขอรับการสนับสนุนในส่วนขยายกำลังการผลิตจะต้องได้รับใบอนุญาตขยายโรงงานแล้ว
ลักษณะที่ 2 โรงงานหรือ ESCO ที่วันที่ยื่นข้อเสนอได้ดำเนินการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพแล้ว โดยระบบก๊าซชีวภาพดังกล่าวยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จและยังไม่ได้เริ่มต้นเดินระบบก๊าซชีวภาพ (Start up) เพื่อนำน้ำเสียหรือของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตมาจัดการด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพและใช้เป็นพลังงานทดแทน
ทั้งนี้ผู้ยื่นข้อเสนอที่อยู่ระหว่างก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพ แต่ยังไม่ได้เดินระบบ สนพ. สงวนสิทธิ์งดจ่ายเงินสนับสนุนส่วน “ค่าที่ปรึกษาออกแบบระบบ”
�
ข้อเสนอที่สามารถยื่นขอรับการสนับสนุน ต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติขั้นต่ำ ดังนี้
1) เป็นระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียหรือของเสีย ที่มีความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพได้ตั้งแต่ 400 ลบ.ม.มาตรฐาน (Nm3)/วัน ขึ้นไป ยกเว้นอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์จากแป้ง อุตสาหกรรมสกัดน้ำมันพืชหรือผลิตน้ำมันพืชบริสุทธิ์ และอุตสาหกรรมเอทานอล ต้องมีความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพตั้งแต่ 1,000 ลบ.ม.มาตรฐาน (Nm3)/วัน ขึ้นไป โดยอ้างอิงปริมาณพลังงานตามสัดส่วน %CH4ในก๊าซชีวภาพที่ 60% (โดยปริมาตร)
2) มีระบบการนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ไปใช้ประโยชน์ในรูปพลังงานทดแทนหรือคิดเป็นค่าพลังงานเทียบเท่า ตั้งแต่ 80% โดย
ปริมาตรขึ้นไป โดยอาจผลิตเป็นพลังงานความร้อนทดแทนการใช้เชื้อเพลิงอื่น
การผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้เองภายในโรงงานหรือจำหน่ายเข้าระบบของการ
ไฟฟ้า การใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อนเพื่อผลิตน้ำเย็นด้วย Absorption Chiller หรือการผลิตพลังงานความร้อนร่วมในรูปแบบ Cogeneration เป็นต้น
3) มี
การออกแบบและติดตั้งระบบบำบัดน้ำทิ้งขั้นหลัง
เพื่อบำบัดน้ำทิ้งที่ออกจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณลักษณะ
น้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
หรือเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีต้องการนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์
ทางการเกษตร เช่น ใช้เป็นสารปรับปรุงดิน
ผู้ยื่นข้อเสนอต้องนำเสนอแนวทางและวิธีการที่ชัดเจน
ในการนำน้ำทิ้งดังกล่าวไปใช้ประโยชน์
4) มี
ระบบการจัดการเผาทำลายก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นกรณีที่มีก๊าซชีวภาพเหลือจากการ
นำไปใช้ประโยชน์ เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ
หมายเหตุ: ลบ.ม.มาตรฐาน (Nm3) หมายถึงปริมาตรของก๊าซ ณ สภาวะมาตรฐานความดัน 1 บรรยากาศ (1.01 bara, 14.72 psia) อุณหภูมิ 0องศาเซลเซียส
อัตราการสนับสนุน
1.เงินสนับสนุนจากกองทุนฯ
การสนับสนุนแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ การสนับสนุนเงินในส่วนค่าที่ปรึกษาออกแบบระบบและการสนับสนุนเงินลงทุนระบบ โดยกำหนดสัดส่วนเงินสนับสนุนรวม (%) และวงเงินสนับสนุนสูงสุดแยกตามกลุ่มประเภทโรงงานอุตสาหกรรมตามที่แสดงในตารางที่ 1ผู้
ยื่นข้อเสนอจะต้องระบุสัดส่วนเงินสนับสนุนค่าที่ปรึกษาออกแบบระบบและสัดส่วน
เงินสนับสนุนค่าลงทุนระบบ
ตามการตกลงระหว่างกันของผู้ยื่นข้อเสนอและที่ปรึกษาออกแบบระบบแต่ละราย
ในการพิจารณาวงเงินสนับสนุน ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องแสดงรายการค่าลงทุนจำแนกรายละเอียด (Breakdown) ตามระบบและอุปกรณ์หลัก เพื่อนำเสนอให้ สนพ. พิจารณาความเหมาะสมของแต่ละรายงาน พร้อมรายละเอียดทางด้านเทคนิคต่างๆ ตามแบบยื่นข้อเสนอทางเทคนิคและแบบยื่นข้อเสนอทางการเงินที่ได้กำหนดไว้ในเอกสารเชิญชวนฉบับนี้
ตารางที่ 1 อัตราเงินสนับสนุนสูงสุดสำหรับผู้ประกอบการแต่ละประเภท
ประเภทโรงงานอุตสาหกรรม/
ชนิดของเสียหรือน้ำเสีย
|
เป้าหมายตามแผนส่งเสริมกองทุนฯ
(แห่ง)
|
สัดส่วนการสนับสนุน
(%) *
|
วงเงินสนับสนุนสูงสุดต่อแห่ง
(ล้านบาท)
|
1.โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวเจ้า ฯลฯ
|
10
|
�
|
�
|
1.1น้ำเสีย
|
�
|
20%
|
10.0
|
1.2 เศษวัสดุเหลือใช้จากโรงงาน เช่น กากมัน เป็นต้น
|
�
|
50%
|
10.0
|
2.โรงงานสกัดน้ำมันพืชหรือผลิตน้ำมันพืชบริสุทธิ์ เช่น น้ำมันปาล์ม ฯลฯ
|
20
|
�
|
�
|
2.1 น้ำเสีย
|
�
|
20%
|
10.0
|
2.2 เศษวัสดุเหลือใช้จากโรงงาน เช่น กากตะกอน (Decanter Cake) เป็นต้น
|
�
|
50%
|
10.0
|
3.โรงงานเอทานอล (ผลิตแอลกอฮอล์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมและ/หรือพลังงาน) (น้ำเสีย)
|
4
|
20%
|
20.0
|
4.โรงงานน้ำยางข้น (น้ำเสีย)
|
10
|
50%
|
6.0
|
5.โรงงานแปรรูปอาหาร (น้ำเสีย/กากของเสีย)
|
20
|
50%
|
6.0
|
|